สวัสดีจ้าาา ... ยินดีต้อนรับเข้าสู่สื่อการเรียนการสอนเรื่อง "การเกิดปฏิกิริยาเคมี" นะจ้ะ

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์คืออะไร

ความซื่อสัตย์คืออะไร        

           คำว่าซื่อสัตย์  มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ..ศ.2526 ว่า
“ซื่อตรงและจริงใจ หรือ ไม่คิดคดทรยศ  หรือ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง” 
        
ครอบครัวต้องทำอย่างไร                   
           หน้าที่หรือความรับผิดชอบของครอบครัว   ที่จะต้องร่วมกันสร้างความซื่อสัตย์ให้เกิด เป็นรูปธรรมขึ้นคือการสร้างจิตสำนึกขึ้นในตัวของบุคคลในครัวครัว โดยเริ่มที่ตนเองก่อน  โดยการทำตนเป็นคนซื้อสัตย์ต้นแบบ  ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว  ต้องทำตนเป็นต้นแบบหรือเป็นแม่พิมพ์ แห่งความซื่อสัตย์ต่อภรรยา  ต้นแบบแม่พิมพ์ของลูก ๆ ในขณะเดียวกัน   ผู้คนในครอบครัวต้องร่วมกันแสดงพลังแห่งการสนองตอบ  บนพื้นฐานแห่งจิตสำนึกขึ้นมา
 นั่นคือการแสดงออกบนวิถีแห่งความซื้อสัตย์ต่อกันในทุกกรณี  จริงใจต่อพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกัน บนพื้นฐานแห่งการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม  ในเมื่อแต่ละครอบครัวสร้างจิตสำนึกของความซื่อสัตย์ให้เกิดขึ้นในจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว  จิตสำนึกแห่งความซื่อสัตย์ย่อมต่อยอดออกไปสู่สังคมที่กว้างใหญ่ได้โดยมิต้องสงสัย   เพราะจิตสำนึกนั้นได้ฝังลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในแต่ละครอบครัวแล้ว 

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กรอบความรู้ที่ 4

ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นสามารถเขียนแสดงด้วยสมการเคมี สมการเคมีเขียนขึ้นเพื่อแสดงสูตรหรือสัญลักษณ์ของสารเริ่มต้นที่ทำปฏิกิริยากันพอดีไว้ทางซ้ายมือ เขียนลูกศร เพื่อแสดงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสารผลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือ การเขียนสมการเคมีที่ถูกต้อง นำจำนวนอะตอมของสารเริ่มต้นให้เท่ากับจำนวนอะตอมของสารผลิตภัณฑ์ โดยวิธีการนำตัวเลขที่เหมาะสมเติมลงข้างหน้าสูตรเคมีในสมการ เรียกว่า “การดุลสมการเคมี”

กรอบความรู้ที่ 3

ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเริ่มจากสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปเข้าทำปฏิกิริยากันเรียกชื่อสารนี้ว่า “สารเริ่มต้น” (Reactant) โมเลกุลของสารเริ่มต้นมีการแตกสลายพันธะเดิมและสร้างพันธะใหม่ เป็นผลทำให้เกิดสารใหม่ เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์” (Product) ซึ่งมีสมบัติต่างจากสารเริ่มต้น

กรอบความรู้ที่ 2

สารเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น คือสารตั้งต้นเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสมบัติของสารต่างไปจากเดิม สังเกตเห็นได้เด่นชัดเช่น มีฟองแก๊ส ตะกอน หรือความร้อน เกิดขึ้น หรือ สีของสารละลายเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ เกิดการระเบิด ตัวอย่างเช่น การเผาไหม้  การสึกกร่อนของหินปูน การสุกของผลไม้ เป็นต้น

กรอบความรู้ที่ 1

สารที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา สารบางอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น การบูดเน่าของอาหาร การเกิดสนิมเหล็ก การสึกกร่อนของเปลือกโลกบางชนิดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การระเบิดของดินปืน เป็นต้น  สารที่เปลี่ยนแปลงแบบผิวเผินเฉพาะลักษณะภายนอกได้แก่ การเปลี่ยนของขนาด สถานะ จุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่น เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ”