สวัสดีจ้าาา ... ยินดีต้อนรับเข้าสู่สื่อการเรียนการสอนเรื่อง "การเกิดปฏิกิริยาเคมี" นะจ้ะ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กรอบความรู้ที่ 4

ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นสามารถเขียนแสดงด้วยสมการเคมี สมการเคมีเขียนขึ้นเพื่อแสดงสูตรหรือสัญลักษณ์ของสารเริ่มต้นที่ทำปฏิกิริยากันพอดีไว้ทางซ้ายมือ เขียนลูกศร เพื่อแสดงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสารผลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือ การเขียนสมการเคมีที่ถูกต้อง นำจำนวนอะตอมของสารเริ่มต้นให้เท่ากับจำนวนอะตอมของสารผลิตภัณฑ์ โดยวิธีการนำตัวเลขที่เหมาะสมเติมลงข้างหน้าสูตรเคมีในสมการ เรียกว่า “การดุลสมการเคมี”

กรอบความรู้ที่ 3

ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเริ่มจากสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปเข้าทำปฏิกิริยากันเรียกชื่อสารนี้ว่า “สารเริ่มต้น” (Reactant) โมเลกุลของสารเริ่มต้นมีการแตกสลายพันธะเดิมและสร้างพันธะใหม่ เป็นผลทำให้เกิดสารใหม่ เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์” (Product) ซึ่งมีสมบัติต่างจากสารเริ่มต้น

กรอบความรู้ที่ 2

สารเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น คือสารตั้งต้นเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสมบัติของสารต่างไปจากเดิม สังเกตเห็นได้เด่นชัดเช่น มีฟองแก๊ส ตะกอน หรือความร้อน เกิดขึ้น หรือ สีของสารละลายเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ เกิดการระเบิด ตัวอย่างเช่น การเผาไหม้  การสึกกร่อนของหินปูน การสุกของผลไม้ เป็นต้น

กรอบความรู้ที่ 1

สารที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา สารบางอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น การบูดเน่าของอาหาร การเกิดสนิมเหล็ก การสึกกร่อนของเปลือกโลกบางชนิดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การระเบิดของดินปืน เป็นต้น  สารที่เปลี่ยนแปลงแบบผิวเผินเฉพาะลักษณะภายนอกได้แก่ การเปลี่ยนของขนาด สถานะ จุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่น เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ”